วิตามินเอ (Vitamin A) ประโยชน์ แหล่งที่พบ และอาการเมื่อขาด
วิตามินเอ (vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน สามารถพบได้ในอาหารหลากชนิด ทั้งอาหารจากพืชและจากสัตว์ โดยทั่วไปแล้ว วิตามินเอในอาหาร จะพบได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
เรตินอล (retinol)

แหล่งวิตามินเอจากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันตับปลา ไข่ นม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากนม
ส่วนผักที่มีวิตามินเอในปริมาณสูง (ต่อ 100 กรัม) ได้แก่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
หนังสือวิตามินไบเบิล (vitamin bible) โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์
Vitamin A — Health Professional Fact Sheet, National Institutes of Health
- วิตามินเอแบบสำเร็จรูป (preformed vitamin A) ซึ่งอยู่ในรูปเรตินอล (retinol) และในรูปเอสเทอร์ของเรตินอล (esterified) โดยวิตามินเอในรูปแบบนี้จะพบในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์
- โปรวิตามินเอ (pro-vitamin A) มักอยู่ในรูป เบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ซึ่งวิตามินเอในรูปแบบนี้ สามารถพบได้ทั้งอาหารจากพืชและสัตว์
คุณประโยชน์ของวิตามินเอต่อร่างกาย
- วิตามินเอมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของดวงตา เป็นองค์ประกอบของส่วนที่ทำหน้าที่รับแสงในดวงตา การขาดวิตามินเอ จะส่งผลทำให้เกิดโรคตาบอดในเวลากลางคืน
- การได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ จะช่วยเสริมสร้างให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
- เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคในทางเดินหายใจ ทำให้ติดเชื้อโรคในทางเดินหายใจได้ยากขึ้น
- ลดระยะเวลาความเจ็บป่วย ทำให้ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น หายได้เร็วมากยิ่งขึ้น
- วิตามินเอเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ จึงช่วยส่งเสริมความสมบูรณ์ของกระดูก ฟัน ผิวหนัง และเส้นผม
- เมื่อนำมาทาที่ผิวหนัง จะทำให้เซลล์ผิวหนังมีการผลัดเปลี่ยนได้เร็วขึ้น สามารถลดริ้วร้อย จุดด่างดำต่าง ๆ ได้
- ยังมีการใช้วิตามินเอสำหรับการรักษาสิว โดยมีการสังเคราะห์สารในกลุ่มกรดวิตามินเอ เพื่อรักษาสิวโดยเฉพาะ เช่น isotretinoin (ห้ามใช้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้)
- บรรเทาอาการของโรคทางระบบต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ
- บรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง
- เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ และกระบวนการเติบโตของทารกในครรภ์
วิตามินเอ กินแค่ไหน ถึงจะพอดี
RDA (recommended daily allowance) ของวิตามินเอ มีดังต่อไปนี้ช่วงอายุ | RDA Adequate intakes (AI*)μg/day | ปริมาณสูงสุดต่อวัน Upper limit μg/day |
ทารก 0–6 เดือน 7–12 เดือน | 400* 500* | 600 600 |
เด็ก 1–3 ปี 4–8 ปี | 300 400 | 600 900 |
ผู้ชาย 9–13 ปี 14–18 ปี 19 ถึง 70 ปี | 600 900 900 | 1700 2800 3000 |
Females 9–13 ปี 14–18 ปี 19 ถึง 70 ปี | 600 700 700 | 1700 2800 3000 |
ตั้งครรภ์ น้อยกว่า 19 ปี 19 ถึง 50 ปี | 750 770 | 2800 3000 |
ให้นมบุตร น้อยกว่า 19 ปี 19 ถึง 50 ปี | 1200 1300 | 2800 3000 |
- การทานวิตามินเอ 18,500 ไอยูทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเด็กทารก
- การทานวิตามินเอ 50,000 ไอยูทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายในผู้ใหญ่ได้
- สำหรับการทานเบต้า-แคโรทีนมากกว่า 34,000 ไอยูอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะทำให้ผิวมีสีเหลืองได้
วิตามินเอ ถ้าได้รับไม่เพียงพอ จะเกิดอะไรกับร่างกายบ้าง
- เนื่องจากวิตามินเอ เป็นส่วนประกอบสำคัญของหน่วยรับแสงภายในดวงตา การขาดวิตามินเอจะทำให้เกิดโรคตาฟาง มองเห็นในเวลากลางคืนไม่ชัด เกิดเยื่อบุตาแห้ง รวมถึงการขาดอย่างรุนแรง อาจทำให้ตาบอดได้
- การได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ จะทำให้สุขภาพของผิวพรรณไม่ดี ผิวหยาบกร้าน แห้งแตก ขาดความชุ่มชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอื่น ๆ ตามมา อย่างเช่น สิว และโรคผิวหนังติดเชื้อ
- ทำให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะการขาดวิตามินเอ จะทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่
วิตามินเอ ได้รับมากเกินไปก็ไม่ดี
การรับประทานวิตามินเอมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะการทานวิตามินเอจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ- อันตรายต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกพิการ หรืออาจแท้งได้ (ยารักษาสิวที่เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์อย่างเด็ดขาด และขณะใช้ยาต้องคุมกำเนิด)
- มีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อและกระดูก
- นอนไม่หลับ รู้สึกระวนกระวาย
- เซื่องซึม อ่อนเพลีย โดยเฉพาะการได้รับมากกว่า 15,000 ไมโครกรัม (100,000 ไอยู)
- ผมร่วง
- ปวดศีรษะ
- ท้องผูก
แหล่งของวิตามินเอ
แหล่งวิตามินเอจากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันตับปลา ไข่ นม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากนม
ส่วนผักที่มีวิตามินเอในปริมาณสูง (ต่อ 100 กรัม) ได้แก่
- ตำลึง 18,608 ไอยู
- ยอดชะอม 10,066 ไอยู
- คะน้า 9,300 ไอยู
- แครอท 9,000 ไอยู
- ยอดกระถิน 7,883 ไอยู
- ผักโขม 7,200 ไอยู
- มะม่วงสุก 1 ผล 4,000 ไอยู
- แคนตาลูป 100 กรัม 3,060 ไอยู
- มะละกอสุก 1 ชิ้นยาว 1,500 ไอยู
- แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700 ถึง 1,000 ไอยู
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
หนังสือวิตามินไบเบิล (vitamin bible) โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์
Vitamin A — Health Professional Fact Sheet, National Institutes of Health
คลิกสั่งซื้อที่นี่ >> http://www.vitaminth.com
ติดตามเราเป็นเพื่อนเฟสบุค http://www.facebook.com/vitaminthai
ติดตามกูรูด้านสุขภาพทางไลน์ http://line.me/ti/p/%40vitaminthailand
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม www.vitaminth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น